ธุรกิจซื้อขายสินค้า
ธุรกิจซื้อขายสินค้ามีรายได้จากธุรกรรมซื้อสินค้าแล้วมาขายสินค้าให้กับลูกค้าจะอยู่ในรูปขายปลีกและขายส่ง
การซื้อสินค้า
ในธุรกิจของกิจการที่ขายสินค้ามีกิจกรรม
2 ด้าน คือ ด้านซื้อและด้านขาย
ในธุรกิจขนาดเล็กบุคคลคนเดียวจะเป็นผู้ทำการจัดซื้อทั้งหมด
แต่ถ้าเป็นกิจการขนาดใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดซื้อสินค้าคือฝ่ายจัดซื้อ
ขั้นตอนโดยสังเขปของการจัดซื้อสินค้า มีดังนี้
1. ผู้จัดการของฝ่ายที่ต้องการสินค้าจัดทำใบขอซื้อ ส่งไปให้ฝ่ายจัดซื้อ
2. ฝ่ายจัดซื้อเลือกผู้ขายและจัดทำใบสั่งซื้อ ส่งไปให้ผู้ขาย
3. เมื่อผู้ขายได้รับใบสั่งซื้อ
ก็จะจัดส่งสินค้าพร้อมกับใบกำกับสินค้ามาให้แก่ผู้ซื้อ
4. เมื่อสินค้าส่งมาถึงมือผู้ซื้อ ก็ต้องมีการตรวจสอบทั้งปริมาณ คุณภาพ
และคูณลักษณะว่าถูกต้องหรือไม่ และจัดทำใบรับสินค้า
เพื่อแสดงรายละเอียดของสินค้าที่รับ
ส่วนลดการค้า
ผู้ขายจะตั้งราคาสินค้าที่ขายไว้ในราคาสินค้า
หรือในสมุดราคาสินค้าไว้เพียงราคาเดียว แต่เวลาขายจริงจะคิดราคาไม่เท่ากัน
ส่วนที่ทำให้ราคาขายของสินค้าไม่เท่ากันของผู้ซื้อแต่ละราย คือ ส่วนลดการค้า
ส่วนลดการค้า หมายถึง
จำนวนเงินหรืออัตราร้อยละที่ผู้ขายยอมลดให้ผู้ซื้อจากราคาที่ตั้งไว้
ส่วนลดการค้าเป็นรายการที่ไม่ต้องบันทึกบัญชีทั้งในสมุดบัญชีของผู้ซื้อและผู้ขาย
ซึ่งผู้ซื้อจะบันทึกสินค้าที่ซื้อในราคาที่จ่ายเงินจริง
การส่งคืนสินค้า
สินค้าที่ส่งมาชำรุดเสียหาย
ผู้ซื้อก็จะส่งสินค้าเหล่านั้นคืนไป
ซึ่งในบางครั้งผู้ขายก็อาจจะส่งสินค้าใหม่มาเปลี่ยน
แต่ถ้าผู้ขายไม่ส่งสินค้ามาเปลี่ยนก็จะต้องลดยอดในบัญชีกรณีซื้อขายเป็นเงินเชื่อ
หรือคืนเป็นเงินสดในกรณีซื้อขายเป็นเงินสด
ส่วนการบันทึกบัญชี
ผู้ซื้อจะบันทึกบัญชีก็ต่อเมื่อได้รับใบลดหนี้หรือใบหักหนี้จากผู้ขายเสียก่อน
ใบลดหนี้จะเก็บไว้คู่กับในกำกับสินค้า
เมื่อถึงเวลาชำระเงินจะได้นำไปหักจากยอดในใบกำกับสินค้า
แต่ในบางครั้ง
การคืนสินค้าหรือขอลดหนี้นั้น
ผู้ซื้ออาจจะเป็นผู้จัดทำใบลดหนี้ขึ้นมาแล้วส่งให้ผู้ขายเพื่อขอลดหนี้
แล้วทางผู้ซื้อก็บันทึกบัญชีลดหนี้เลย โดยไม่รอให้ผู้ขายส่งใบลดหนี้มาให้
การส่งคืนสินค้าจะมีผลทำให้ยอดซื้อและยอดหนี้สินของผู้ซื้อลดลง
โดยบันทึกในบัญชีส่งคืนและส่วนลด หรือบัญชีสินค้าคงเหลือแล้วแต่วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแต่ละวิธี
ส่วนสดเงินสด
ปกติการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อผู้ขายก็มักจะกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อ
ซึ่งอาจจะเป็น 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน และผู้ขายก็อาจจะกำหนดเงื่อนไขอีกว่า
ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ภายในกำหนดที่ให้ไว้ก็จะให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้
ส่วนลดนี้เรียกว่าส่วนลดเงินสด ลักษณะของเงื่อนไข มีดังนี้
1/10, n/30 หมายถึง
กำหนดชำระเงินตามราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าภายใน 30
วันนับจากวันที่ในใบกำกับสินค้า แต่ถ้าหากผู้ซื้อชำระเงินภายใน 10 วัน
ก็จะได้ส่วนลด 1%
ส่วนลดเงินสดแบ่งได้เป็น
2 ประเภท คือ
1. ส่วนลดรับ เป็นจำนวนเงินที่ผู้ซื้อได้รับจากผู้ขาย
กรณีที่ผู้ซื้อชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการชำระเงิน
ส่วนลดรับจะเป็นรายการที่ทำให้ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาขายลดลง
2. ส่วนลดจ่าย เป็นจำนวนเงินที่ผู้ขายลดให้แก่ผู้ซื้อ
กรณีที่ผู้ซื้อชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการชำระเงิน
ส่วนลดจ่ายจะเป็นรายการที่ทำให้รายได้จากการขายสินค้าลดลง
ค่าขนส่ง
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขนถ่ายสินค้าที่ซื้อขายกัน
ในกรณีซื้อขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องตกลงกันในเงื่อนไขการซื้อขายเกี่ยวกับการส่งมอบและกรรมสิทธิ์ให้สินค้า
ซึ่งในการกำหนดเงื่อนไขต่างกัน
ก็จะทำให้ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันมีราคาแตกต่างกันด้วยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการส่งมอบ
เงื่อนไขในการขาย
มีดังนี้
1. FOB Shipping Point หมายถึง
กรณีที่ผู้ขายจะรับผิดชอบในการส่งสินค้าไปถึงท่าเรือของผู้ขาย
และผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและกรรมสิทธิ์ในสินค้าตั้งแต่ท่าเรือของผู้ขายจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดให้ไปส่ง
2. FOB Destination หมายถึง
กรณีที่ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าขนส่งและกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดให้ไปส่ง
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าขนส่ง
1. กรณีที่ซื้อขายกันโดยเงื่อนไข FOB Shipping Point
ผู้ซื้อจะบันทึกรายการโดย
เดบิต ค่าขนส่งเข้า
xxx
เครดิต เงินสด xxx
ส่วนผู้ขายไม่ต้องบันทึกบัญชี
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ขายจ่ายค่าขนส่งแทนผู้ซื้อไปก่อน
ผู้ซื้อจะบันทึกรายการโดย
เดบิต ค่าขนส่งเข้า xxx
เครดิต เจ้าหนี้การค้า xxx
ผู้ขายจะบันทึกรายการโดย
เดบิต ลูกหนี้การค้า
xxx
เครดิต เงินสด xxx
2. กรณีที่ซื้อขายกันโดยเงื่อนไข FOB Destination
ผู้ซื้อไม่ต้องบันทึกบัญชี
ผู้ขายบันทึกบัญชีโดย
เดบิต ค่าขนส่งออก xxx
เครดิต เงินสด xxx
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ซื้อจ่ายค่าขนส่งแทนผู้ขายไปก่อน
ผู้ซื้อจะบันทึกรายการโดย
เดบิต เจ้าหนี้การค้า xxx
เครดิต เงินสด xxx
ผู้ขายบันทึกบัญชีโดย
เดบิต ค่าขนส่งออก xxx
เครดิต ลูกหนี้การค้า
xxx
รายได้จากการขาย
รายได้หลักของธุรกิจซื้อขายสินค้า คือ
รายได้จากการขายสินค้า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อแล้ว
โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับเงินสดแล้วหรือไม่
การรับคืนสินค้า
เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วในการตรวจรับสินค้าทางผู้ซื้ออาจพบสินค้าที่ส่งไปชำรุดเสียหายอาจผิดขนาด
หรือคุณภาพไม่ตรงกับที่ส่งให้ ในบางครั้งผู้ขายก็ต้องเปลี่ยนสินค้า
หรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยนแต่ให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ
แต่ถ้าลูกค้าซื้อเป็นเงินสดต้องคืนเงินให้ลูกค้า
การรับคืนสินค้าจะมีผลทำให้ยอดขายและยอดลูกหนี้ลดลง
การบันทึกบัญชีจะใช้ใบลดหนี้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี โดยบันทึกในบัญชี
รับคืนและส่วนลด
วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือของธุรกิจซื้อขายสินค้า อาจทำได้ 2
วิธี คือ
1. การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual
Inventory Method)
2. การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory
Method)
การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
จะบันทึกการรับจ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่อง
เพื่อแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของสินค้าอยู่ตลอดเวลา
วิธีนี้กิจการจะได้ข้อมูลที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
เหมาะกับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าที่มีราคาต่อหน่วยสูง และมีปริมาณน้อย
บัญชีที่สำคัญเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่องได้แก่บัญชีสินค้าคงเหลือ
และบัญชีต้นทุนสินค้าขาย
บัญชีสินค้าคงเหลือ เป็นบัญชีประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน
ตามวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง ในบัญชีสินค้าคงเหลือจะประกอบด้วย
รายละเอียดดังนี้
ด้านเดบิต ประกอบด้วย
1. รายการซื้อสินค้า
2. รายการรับคืนสินค้าจากลูกค้า
3. รายการค่าขนส่งเข้า
ส่วนทางด้านเครดิต ประกอบด้วย
1. รายการต้นทุนสินค้าที่ขายไป
2. รายการส่งคืนสินค้า
3. รายการส่วนลดรับที่ได้รับจากผู้ขาย
บัญชีต้นทุนสินค้าขาย
หรือบัญชีต้นทุนขาย เป็นบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย
ใช้สำหรับบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายออกไปโดยโอนต้นทุนออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือไปเป็นค่าใช้จ่าย
เพื่อไปจับคู่กับบัญชีขายตามหลักการจับคู่ราบได้กับค่าใช้จ่าย
ดังนั้นทุกครั้งที่มีการขายสินค้าจะต้องบันทึกบัญชีต้นทุนสินค้าขายด้วย
เช่นเดียวกันถ้ามีการรับคืนสินค้าก็ต้องมีการลดบัญชีต้นทุนสินค้าขายออก
ด้านเดบิตของบัญชีต้นทุนสินค้าขายจะบันทึกต้นทุนขายที่เกิดจากรายการขายสินค้า
ส่วนทางด้านเครดิตบัญชีต้นทุนสินค้าขายจะบันทึกรายการรับคืนสินค้า
ตัวอย่าง บัญชีต้นทุนสินค้าขาย มีดังนี้
กระดาษทำการสำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า
แตกต่างจากที่เรียนมาแล้วเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าเท่านั้น
ในกรณีที่กิจการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง จะมีบัญชีที่เพิ่มเติม
ดังนี้
1. บัญชีสินค้าคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุง จะเป็นยอดสินค้าคงเหลือปลายงวด
และจะนำไปลงในช่องงบดุลทางด้านเดบิต
2. บัญชีขายเป็นบัญชีรายได้ แสดงในช่องงบกำไรขาดทุน ทางด้านเครดิต
3. บัญชีรับคืนและส่วนลดเป็นบัญชีปรับมูลค่าขายให้ลดลง
แสดงในช่องงบกำไรขาดทุน ทางด้านเดบิต
4. บัญชีส่วนลดจ่ายเป็นบัญชีปรับมูลค่าขาย แสดงในช่องงบกำไรขาดทุนทางด้านเดบิต
5. บัญชีต้นทุนสินค้าขายเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย แสดงในช่องงบกำไรขาดทุน
ทางด้านเดบิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น