วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4 การปรับปรุงรายการ

การปรับปรุงบัญชี

ในการปรับปรุงบัญชีจะมีทั้งการปรับปรุงรายการที่บันทึกไว้ รายการที่อาจเกิดจากการบันทึกไว้ผิดพลาด และการปรับปรุงจะรวมทั้งการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาที่จัดทำงบการเงินที่ยังไม่ได้บันทึกรายการค้าไว้ ทำให้ต้องบันทึกรายการรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์คงค้าง

รายการปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดจะมีรายการดังต่อไปนี้
1.  รายได้ค้างรับ
2.  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
3.  รายได้รับล่วงหน้า
4.  ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
5.  ค่าเสื่อมราคา
6.  ค่าตัดจำหน่าย
7.  ค่าสูญสิ้น
8.  วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
9.  หนี้สงสัยจะสูญ
10.การแก้ไขข้อผิดพลาด

1.  รายได้ค้างรับ
                รายได้ค้างรับเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินสดจนกว่าจะถึงงวดบัญชีต่อไป ในงวดบัญชีที่จัดทำงบการเงินเมื่อมีรายการเกิดขึ้นกิจการจะบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง

การบันทึกรายการรายได้ค้างรับจะบันทึกดังนี้
เดบิต      รายได้ค้างรับ                        xxx         " เป็นรายการสินทรัพย์ในงบดุล
                เครดิต    รายได้รับ                               xxx         " เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน


2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินสดจนกว่าจะถึงงวดบัญชีต่อไป ในงวดบัญชีที่จัดทำงบการเงินเมื่อมีรายการเกิดขึ้นกิจการจะบันทึกตามเกณฑ์      คงค้าง

การบันทึกรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจะบันทึกดังนี้
เดบิต      ค่าใช้จ่าย                               xxx         " เป็นรายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                  xxx         " เป็นรายการหนี้สินในงบดุล

3.  รายได้รับล่วงหน้า
                รายได้รับล่วงหน้าเป็นรายได้ที่กิจการได้รับเงินล่วงหน้า โดยยังให้บริการแก่ลูกค้าไม่หมด ดังนั้นรายได้ที่รับมาจึงเป็นรายได้ในงวดนี้ส่วนหนึ่ง และที่เหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้ในงวดบัญชีถัดไป กิจการสามารถบันทึกได้ 2 วิธี แต่เมื่อทำการปรับปรุงแล้วยอดคงเหลือของรายการที่แสดงในงบการเงินจะมียอดคงเหลือเท่ากัน
                การบันทึกรับเงินสดจากลูกค้าล่วงหน้าในวันที่รับเงินสดจะทำได้ 2 วิธี คือ
                3.1)  บันทึกถือเป็นรายได้รับล่วงหน้า      " บันทึกในรายการหนี้สิน
                3.2)  บันทึกถือเป็นรายได้       " บันทึกในรายการรายได้
3.1  บันทึกถือเป็นรายได้รับล่วงหน้า
                กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นหนี้สิน เมื่อวันสิ้นสุดงวดจึงมาปรับปรุงรายการรายได้รับล่วงหน้าเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนในส่วนที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว
การบันทึกรายการรายได้รับล่วงหน้าจะบันทึกดังนี้
ในวันที่ได้รับเงินสด
เดบิต      เงินสด                                                   xxx        
                เครดิต    รายได้รับล่วงหน้า                               xxx         " เป็นรายการหนี้สินในงบดุล
                ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ให้บริการแล้วบางส่วนจะลงบัญชีล้างรายได้รับล่วงหน้าในส่วนที่ได้ให้บริการแล้วออกจากบัญชี โดยจะไปบันทึกรับรู้รายได้แทนในจำนวนที่เท่ากัน
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต      รายได้รับล่วงหน้า               xxx
                เครดิต    รายได้รับ                               xxx         " เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน

3.2      บันทึกถือเป็นรายได้
กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนทั้งหมด ดังนั้นในวันสิ้นงวดกิจการจะมีรายได้รับในงวดบัญชีมากเกินไป ในวันสิ้นงวดจึงต้องปรับปรุงรายการรายได้รับให้แสดงเป็นรายได้สำหรับงวดเวลานั้นเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะนำไปบันทึกไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า
ในวันที่ได้รับเงินสด
เดบิต      เงินสด                                   xxx        
                เครดิต    รายได้รับ                               xxx         " เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน
                ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ให้บริการแล้วแต่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จทั้งหมด ดังนั้นหากยังคงบันทึกทั้งหมดเป็นรายได้จะทำให้การรับรู้รายได้ในงวดนั้นสูงเกินไป จึงต้องทำการปรับปรุงจำนวนที่รับรู้รายได้ให้แสดงรายได้ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับในงวด แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้ให้บริการไปไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต      รายได้รับ                                      xxx
                เครดิต    รายได้รับล่วงหน้า                      xxx        " เป็นรายการหนี้สินในงบดุล

4.  ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
                เป็นค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว โดยได้รับบริการเพียงบางส่วน ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป การบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายไปกิจการสามารถบันได้ 2 วิธี แต่เมื่อทำการปรับปรุงแล้วยอดคงเหลือของรายการที่แสดงในงบการเงินจะมียอดคงเหลือเท่ากันเสมอ
การบันทึกเงินสดที่จ่ายไปสำหรับค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในวันที่จ่ายเงินจะบันทึกได้ 2 วิธี คือ
4.1)  บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า      " บันทึกในรายการสินทรัพย์
4.2)  บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่าย   " บันทึกในรายการค่าใช้จ่าย
4.1 บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
                กิจการจะบันทึกเงินสดจ่ายทั้งหมดเป็นสินทรัพย์ในวันที่จ่ายเงินสด เมื่อวันสิ้นงวดจึงมาปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนในส่วนที่ได้ใช้บริการไปแล้ว
ในวันที่จ่ายเงินสด
เดบิต      ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า         xxx         "  รายการสินทรัพย์ในงบดุล
                เครดิต    เงินสด                                   xxx        
ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการไปแล้วบางส่วนก็จะลงบันทึกล้างค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนที่ได้ใช้บริการแล้วออกจากบัญชี โดยจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทนในจำนวนที่เท่ากัน
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต      ค่าใช้จ่าย                                               xxx         "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า                         xxx

 4.2    บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่าย
กิจการจะบันทึกเงินสดจ่ายที่จ่ายทั้งหมดที่จ่ายทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทั้งหมด ดังนั้นในวันสิ้นงวดกิจการจะมีค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นมากเกินไป ดังนั้นในวันสิ้นงวดจึงต้องทำการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายให้แสดงเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงวดเวลานั้นเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะนำไปบันทึกไว้เป็นรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
ในวันที่จ่ายเงินสด
เดบิต      ค่าใช้จ่าย                               xxx        "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    เงินสด                                   xxx
                ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการบ้างบางส่วนแล้วแต่ยังได้รับบริการไม่หมดทั้งจำนวน ดังนั้นหากบันทึกรายการทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่าย จะทำให้การรับรู้ค่าใช้จ่ายในงวดนั้นสูงเกินไป จึงต้องทำการปรับปรุงจำนวนที่รับรู้ค่าใช้จ่ายให้แสดงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงวดบัญชีนั้นเท่านั้น แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้รับบริการไปแสดงเป็นรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต      ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า         xxx         "  รายการสินทรัพย์ในงบดุล
                เครดิต    ค่าใช้จ่าย                               xxx        

5.  ค่าเสื่อมราคา
                ค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตนที่มีการเสื่อมสภาพ ได้แก่สินทรัพย์ประเภทอาคาร อุปกรณ์ แต่จะยกเว้นที่ดิน (ถือว่าไม่มีการเสื่อมสภาพ) เนื่องจากสินทรัพย์ประเภทนี้ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนานกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้อง กิจการต้องปันส่วนต้นทุนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตนที่มีการเสื่อมสภาพเป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ  ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน และการบันทึกค่าเสื่อมราคาจะบันทึกคู่กับรายการค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งเป็นบัญชีที่สะสมยอดค่าเสื่อมราคาตั้งแต่เริ่มใช้งานจนถึงปัจจุบันในวันที่จัดทำงบการเงิน จึงจัดว่าบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นบัญชีตรงกันข้ามกับบัญชีสินทรัพย์
                ในการคำนวณค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง วิธียอดคงเหลือลดลง วิธีผลรวมจำนวนปี เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีจะทำให้ค่าเสื่อมราคาแสดงยอดไม่เท่ากัน แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือวิธีเส้นตรง  ซึ่งการคำนวณโดยวิธีนี้จะทำให้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปีตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเป็นการประมาณการโดยต้องประมาณการอายุการให้ประโยชน์ชิงเศรษฐกิจ และราคาซาก
อายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เป็นการประมาณการว่าสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมสภาพนั้นจะมีอายุในการให้ประโยชน์กับกิจการนานเพียงใด
ราคาซาก  เป็นการประมาณการว่าเมื่อสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมสภาพนั้นหมดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้วคาดว่าจะขายได้เป็นจำนวนเท่าใด

การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคาจะบันทึกดังนี้
เดบิต      ค่าเสื่อมราคา                                xxx  "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    ค่าเสื่อมราคาสะสม                    xxx         "  รายการปรับมูลค่าของสินทรัพย์ในงบดุล

การคำนวณโดยวิธีเส้นตรง จะทำให้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปีตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

การคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง
                                ค่าเสื่อมราคาต่อปี                =                  ต้นทุนสินทรัพย์ – ราคาซาก
                                                                                                อายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
การคำนวณค่าเสื่อมราคาจะคำนวณแล้วบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปบัญชีแยกประเภทตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เมื่อหมดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้วจะมีมูลค่าเหลือเท่ากับราคาซาก
 
การคำนวณค่าเสื่อมราคาเมื่อครอบครองไม่เต็มปี
                ให้คำนวณตามสัดส่วนระยะเวลาที่เริ่มใช้ประโยชน์จนถึงวันที่ในงบดุล เช่น
จากตัวอย่างที่ 7 ถ้าซื้อรถยนต์มาวันที่ 1 มิถุนายน 25x1 นั้น ค่าเสื่อมราคาประจำปี 25x1 จะต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาจำนวน 14,000 บาท

มูลค่าตามบัญชี (Book Value)
                การคำนวณค่าเสื่อมราคา แล้วบันทึกปรับลดมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมนั้น มูลค่าสุทธิที่เหลืออยู่เรียกว่า “มูลค่าตามบัญชี” ดังนั้นมูลค่าตามบัญชี คือ ราคาทุนของสินทรัพย์ หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม แสดงได้ดังนี้
                                                ราคาทุนของสินทรัพย์
                                                (หัก)  ค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์
                                                                มูลค่าตามบัญชี

กรณีขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
                กิจการต้องคำนวณหามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์มาจนถึงวันที่ขายสินทรัพย์ โดยคำนวณค่าเสื่อมราคามาถึงวันที่ขายแล้วนำไปรวมกับค่าเสื่อมราคาสะสมเพื่อคำนวณหามูลค่าตามบัญชี และนำไปเปรียบเทียบกับเงินสดที่ได้รับ โดยพิจารณาดังนี้
1. เงินสดที่ได้รับ     >     มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ ขาย     ]      เกิดรายการกำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นรายการรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน
2. เงินสดที่ได้รับ      <       มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ ขาย        ]         เกิดรายการขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นรายการ-ค่าใช้จ่ายอื่นในงบกำไรขาดทุน
                โดยในวันที่ขายจะต้องบันทึกล้างบัญชีสินทรัพย์ และบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมออกจากกิจการ โดยบันทึกล้างสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนทางด้านเครดิต และล้างบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมทางด้านเดบิต และบันทึกด้านเดบิตด้วยเงินสด ผลต่างระหว่างด้านเดบิต และเครดิตเป็นรายการกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ แสดงการบันทึกการขายสินทรัพย์ดังนี้
เดบิต      เงินสด                                                                                   xxx
                ค่าเสื่อมราคาสะสม – สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน                                           xxx
                กำไรขาดทุนขากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน                                     xxx    "  ถ้าเกิดขาดทุนจากการขาย
               
                เครดิต    สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน                                               xxx
                                กำไรขาดทุนขากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน                     xxx  " ถ้าเกิดกำไรจากการขาย

6.  ค่าตัดจำหน่าย
                ค่าตัดจำหน่ายจะเป็นการปันส่วนราคาทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร เป็นต้น โดยต้องประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ โดยอาศัยอายุของกฎหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจไม่เกิน 20 ปี โดยจะบันทึกค่าตัดจำหน่ายในวันสิ้นงวดดังนี้
เดบิต      ค่าตัดจำหน่าย                                       xxx  "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    ค่าตัดจำหน่ายสะสม                           xxx   "  รายการปรับมูลค่าสินทรัพย์ในงบดุล

7.  ค่าสูญสิ้น
                เป็นการบันทึกบัญชีในวันปรับปรุงวันสิ้นงวดเพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน และนำค่าสูญสิ้นสะสมมาบันทึกลดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนประเภททรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ ถ่านหิน บ่อน้ำมัน เป็นต้น โดยทรัพยากรธรรมชาตินั้นไม่มีการเสื่อมสภาพเหมือนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ทรัพยากรธรรมชาติจะลดปริมาณลงในแต่ละปีเมื่อนำมาผลิต การบันทึกค่าสูญสิ้น จะคำนวณโดยวิธีตามจำนวนผลผลิต กล่าวคือ ในปีไหนมีการผลิตมากก็จะต้องบันทึกค่าสูญสิ้นมาก
                ในการบันทึกค่าสูญสิ้นนั้นจะบันทึกรายการดังนี้
เดบิต      ค่าสูญสิ้น                                              xxx    "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    ค่าสูญสิ้นสะสม                                   xxx   "  รายการปรับมูลค่าสินทรัพย์ในงบดุล

8.  วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
                วัสดุสิ้นเปลืองเป็นวัสดุที่มีมูลค่าไม่มากนักใช้แล้วหมดสิ้นเลย ดังนั้นในการที่กิจการจะบันทึกรายการการเบิกไปใช้แล้วจะทำให้การบันทึกรายการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งมูลค่าจะน้อยมาก ดังนั้นการบันทึกค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่เบิกไปใช้จะทำการบันทึกปรับปรุงรายการวันสิ้นงวด โดยจะทำการตรวจนับว่าในวันสิ้นงวดวัสดุสิ้นเปลืองมีมูลค่าเหลือเท่าใด แล้วคำนวณว่าในระหว่างงวดได้ใช้วัสดุสิ้นเปลืองไปเป็นจำนวนเท่าใด โดยเทียบกับวัสดุสิ้นเปลืองที่มีมาตอนต้นงวด โดยแสดงการคำนวณวัสดุสิ้นเปลืองได้ดังนี้
                วัสดุสิ้นเปลืองตอนต้นงวดยกมา                                      xxx         บาท
                หัก  วัสดุสิ้นเปลืองตรวจนับวันสิ้นงวด                           xxx         บาท
                วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป                                                         xxx         บาท

                เมื่อคำนวณหามูลค่าของวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปแล้วก็จะบันทึกวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด โดยแสดงการบันทึกดังนี้
เดบิต      วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป                           xxx         "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    วัสดุสิ้นเปลือง                                      xxx

9.  หนี้สงสัยจะสูญ
                เป็นการประมาณหนี้ที่กิจการคาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ตามความหมายของศัพท์บัญชีลูกหนี้ หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินสด สินค้า หรือบริการ โดยบุคคลอื่นจะต้องนำเงินสดมาชำระหนี้คืนจากกิจการ ซึ่งลูกหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น โดยลูกหนี้การค้าเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการของกิจการที่เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงานตามปกติ แต่ลูกหนี้อื่นเป็นลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง
                ตามมาตรฐานการบัญชี กำหนดให้กิจการมียอดลูกหนี้ ณ วันที่ในงบดุล (วันปิดงวด) แล้วให้กิจการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ในงบดุลมีมูลค่าสูงเกินไปซึ่งให้ประมาณเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อนำไปลดยอดลูกหนี้
                การบันทึกการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะบันทึกดังนี้
 
เดบิต      หนี้สงสัยจะสูญ                                xxx   "  รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
                เครดิต    ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                      xxx   "  รายการปรับมูลค่าลูกหนี้ในงบดุล
  
                โดยการประมาการตั้งค่าเผื่อนนั้นจะประมาณการได้ 2 วิธี ดังนี้คือ
1.   ประมาณจากยอดขาย จะประมาณจากยอดขายรวมหรือยอดขายเชื่อก็ได้ เมื่อประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายแล้ว ได้ยอดขายเท่าใดก็จะบันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเท่านั้นเลยไม่ต้องพิจารณายอดยกมาจากงวดที่แล้ว
2.   ประมาณการจากยอดลูกหนี้ จะประมาณจากยอดลูกหนี้รวมในวันสิ้นงวด หรือลูกหนี้ถัวเฉลี่ยต้นปีและปลายปี หรือประมาณจากลูกหนี้แต่ละรายตามอายุของหนี้ก็ได้ โดยลูกหนี้ที่ค้างชำระนานก็จะประมาณการเก็บหนี้ไม่ได้ในอัตราที่สูงกว่าลูกหนี้ที่ค้างชำระสั้นกว่า เมื่อคำนวณยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้เท่าไร แล้วต้องนำยอดยกมาของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดที่แล้วมาพิจารณาเพิ่มเติม โดยจะบันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดนี้เพิ่มหรือลดให้เท่ากับยอดที่ต้องการในงวดบัญชีนี้
การบันทึกรายการเกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้
                        แบ่งการพิจารณาเป็น 2 ประเภท
1.   ในกรณีที่กิจการได้ติดตามทวงถามหนี้จนถึงที่สิ้นสุดแล้วและเข้าเงื่อนไขที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร เช่น ลูกหนี้ล้มละลาย
เดบิต      หนี้สูญ                                                   xxx
                เครดิต    ลูกหนี้                                                                    xxx
เดบิต      ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                           xxx
                เครดิต    หนี้สงสัยจะสูญ                                                      xxx
2.   กรณีที่คาดว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้แน่นอน แต่ยังตัดจำหน่ายหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายตามกฎหมายภาษีอากรไม่ได้
เดบิต      ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                           xxx
                เครดิต    ลูกหนี้                                                                    xxx

                หากต่อมาภายหลังจากที่บันทึกบัญชีกรณีที่ติดตามทวงถามหนี้จนถึงที่สุดแล้วลูกหนี้ไม่มาชำระแต่สุดท้ายลูกหนี้มาชำระ การบันทึกบัญชีจะแสดงได้ดังนี้
·       กรณีที่รับคืนจากลูกหนี้ที่บันทึกจำหน่ายเป็นหนี้สูญตามกฎหมายภาษีอากร
เดบิต      ลูกหนี้                                                    xxx
                เครดิต    หนี้สูญได้รับคืน                                                     xxx

เดบิต      เงินสด                                                   xxx
                เครดิต    ลูกหนี้                                                                    xxx

·       กรณีที่รับคืนจากลูกหนี้ที่จำหน่ายเป็นหนี้สูญที่ไม่เข้าข่ายกฎหมายภาษีอากร
เดบิต      ลูกหนี้                                                    xxx
                เครดิต    ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                            xxx

เดบิต      เงินสด                                                   xxx
                เครดิต    ลูกหนี้                                                                    xxx

10.  การแก้ไขข้อผิดพลาด
                ในบางกรณีกิจการมีการบันทึกบัญชีผิดพลาดซึ่งตรวจพบก่อนที่จะนำเสนองบการเงินนั้น กิจการต้องทำการแก้ไขโดยอาจทำการแก้ไขในวันที่พบข้อผิดพลาดหรือแก้ไขในวันสิ้นงวดก็ได้ ซึ่งจะถือว่าเป็นการปรับปรุงรายการประเภทหนึ่ง
                ในข้อผิดพลาดที่พบนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก
-          บันทึกตัวเลขผิด
-          บันทึกชื่อบัญชีผิด
-          ลืมบันทึกบัญชี
การแก้ไขให้ถูกต้องโดยถ้าจะล้างบัญชีออกไปเลยก็ต้องแก้ไขด้วยการบันทึกอีกด้านตรงกันข้าม หรือหากถ้าบันทึกชื่อบัญชีถูกแล้วแต่จำนวนผิดก็ลงเพิ่มหรือลดจำนวน โดยการแก้ไขก็ยังคงต้องยึดหลักบัญชีคู่
 
การกลับรายการ

                เมื่อได้ทำการปรับปรุงรายการในวันสิ้นงวดแล้วบางกิจการจะทำการกลับรายการปรับปรุงเมื่อเนิ่มงวดบัญชีใหม่ โดยการกลับรายการนั้นจะทำให้การบันทึกบัญชีงวดใหม่สะดวกขึ้นเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงเงินสดที่ได้รับหรือจ่ายว่าเงินสดรับหรือเงินสดจ่ายนั้นเป็นการรับหรือจ่าย สำหรับรายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่าจ่ายล่วงหน้าหรือรายได้รับล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อกลับรายการแล้วในงวดบัญชีใหม่ถ้ากิจการได้รับเงินสดหรือจ่ายเงินสดแล้วก็จะบันทึกรับเงินและจ่ายเงินเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น