รายการทางบัญชี
1.
สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง
ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
ซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (Current
Assets) หมายถึงสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้ในการหมุนเวียนของเงินทุนปกติ
สินทรัพย์จะจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อ
- สินทรัพย์นั้นเป็นเงินสดซึ่งไม่มีข้อจำกัดในการใช้
- กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า
หรือถือไว้ในระยะสั้น
- กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น
ตัวอย่างรายการของสินทรัพย์หมุนเวียน
ได้แก่ เงินสด, เงินลงทุนระยะสั้น
(เช่น หุ้นสามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ), ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงเหลือ, ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า, ตั๋วเงินรับ
1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non
– Current Assets) เป็นทรัพยากรที่กิจการมีไว้ในครอบครองที่มีอายุให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนานกว่า
1 รอบระยะเวลาการดำเนินงาน โดยแบ่งเป็นประเภทได้ คือ
· สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible
Assets)
· สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible
Assets)
ตัวอย่างรายการของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ได้แก่ เงินลงทุนระยะยาว, ที่ดิน
อาคาร และอุปกรณ์, สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2. หนี้สิน (Liability) หมายถึง
เป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการโดยจะเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งจะทำให้กิจการเสียทรัพย์ในอนาคต
โดยการจ่ายคืนภาระผูกพันนั้น รายการหนี้สินต้องมีลักษณะดังนี้
- เป็นภาระผูกพันในปัจจุบัน
- เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
- คาดว่าจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
หนี้สินสามารถจำแนกได้เป็น
2 ประเภทคือ
2.1 หนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) หมายถึงหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายใน
12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
นอกจากนี้ยังรวมถึงหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
ตัวอย่างของรายการที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน
ได้แก่ เงินกู้ยืมจากธนาคารและเงินกู้ยืมอื่น, ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี,
เจ้าหนี้การค้า และเจ้าหนี้อื่น, ภาษี
และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, เงินปันผลค้างจ่าย, รายได้รอการตัดบัญชี, เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า,
หนี้สินโดยประมาณ
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non - Current Liability) เป็นหนี้สินที่ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทของหนี้สินหมุนเวียนได้
และยังรวมถึงหนี้สินที่ไม่ถึงกำหนดชำระภายใน 12
เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
ตัวอย่างของรายการที่จัดเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน
ได้แก่ หุ้นกู้, ตั๋วเงินจ่าย,
ภาษีเงินได้รอ,การตัดบัญชี, หนี้สินตามสัญญาเช่า
หนี้สินไม่หมุนเวียนโดยทั่วไปจะเกิดได้
3 รูปแบบ
1. การเกิดหนี้สินไม่หมุนเวียนจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
2. การเกิดหนี้สินไม่หมุนเวียนจากการจัดหาเงิน
3. การเกิดหนี้สินไม่หมุนเวียนที่เหตุการณ์ดังกล่าวอาจมีโอกาสเกิดหรือไม่มีโอกาสก็ได้
(โดยขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต)
3. ส่วนของเจ้าของ (Stockholder’s
Equity) หมายถึงส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลักจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
การแสดงรายละเอียดจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจในหัวข้อของการนำเสนองบดุล เช่น ทุน
เงินถอน ทุนเรือนหุ้น กำไรสะสม เป็นต้น
4. รายได้ (Revenue) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสเข้าหรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์
หรือการลดลงของหนี้สิน จะทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขั้น
แต่ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ ใช้เกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1. ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
2. กระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์
3. การลดลงของหนี้สิน
4. ส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
5. ไม่รวมเงินลงทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของ
5. ค่าใช้จ่าย (Expense) หมายถึงการลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสออก
หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
แต่จะไม่รวมการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้เป็นเจ้าของ ใช้เกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1. การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
2. กระแสออกหรือการลดลงของสินทรัพย์
3. การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
4. ส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง
5. ไม่รวมการแบ่งปันส่วนที่ให้กับผู้เป็นเจ้าของ
ค่าใช้จ่ายสามารถจำแนกเป็น
ต้นทุนขาย หรือต้นทุนการให้บริการ, ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร, ค่าใช้จ่ายอื่น
ทุน หรือส่วนของเจ้าของ
การจัดประเภทในบัญชีทุนจะแตกต่างกันตามประเภทของกิจการต่างๆ
ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว ในส่วนของเจ้าของกิจการ ประกอบด้วยผลรวมของเงินลงทุน
เงินถอนทุน ผลกำไรและขาดทุน
2.
กิจการห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของกิจการเป็นผลรวมของทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
ซึ่งทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน ประกอบด้วยผลรวมของเงินลงทุน เงินถอน และส่วนแบ่งผลกำไรและขาดทุนในการบันทึกในส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนบันทึกได้
2 วิธีคือ
1. วิธีทุนคงที่ จะบันทึกเฉพาะรายการ การลงทุน การลดทุน
และการลงทุนเพิ่มเท่านั้น ฉะนั้นจะมีบัญชีที่เกี่ยวกับบัญชีทุน
2. วิธีทุนไม่คงที่ ตามวิธีนี้
การบันทึกบัญชีในบัญชีทุนจะบันทึกทุกรายการที่กระทบกระเทือนกับทุน
3. กิจการบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด มี 2 ประเภท คือ
บริษัทเอกชน จำกัด และบริษัทมหาชน จำกัด ทุนของบริษัทเอกชน จำกัดหรือบริษัทมหาชน
จำกัด เรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนเงินที่ผู้ถือหุ้นมาลง เรียกว่า
บัญชีทุนเรือนหุ้น กิจการในรูปบริษัทออกจำหน่ายหุ้นในราคาตามมูลค่า
หรือราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้น ในกรณีบริษัทมหาชน จำกัด
อาจจำหน่ายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้นด้วย
ถ้าจำหน่ายหุ้นในราคาที่สูงกว่ามูลค่าหุ้น จะบันทึกไว้ในบัญชีส่วนเกินมูลค่าหุ้น
และเมื่อบริษัทมีกำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้ในบัญชีกำไรสะสมหรือขาทุนสะสม
กรณีบริษัทมีกำไรมากก็จะจ่ายผลตอบแทนกลับไปให้ผู้ถือหุ้นเรียกว่า เงินปันผล
หรือนำไปตั้งเป็นสำรองต่างๆ
งบการเงิน
งบการเงิน คือ
รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อวัดผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง งบการเงินที่สำคัญประกอบด้วย
1) งบกำไรขาดทุน หมายถึงงบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
โดยแสดงรายได้หักค่าใช้จ่าย แล้วอยู่ในรูปของกำไรหรือขาดทุน
ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายคือกำไร ถ้าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้คือขาดทุน
2) งบดุล หมายถึงงบการเงินที่แสดงฐานะของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง
โดยแสดงสินทรัพย์ที่กิจการเป็นจ้าของ แสดงหนี้สินที่กิจการต้องจ่ายชำระ
และแสดงส่วนของเจ้าของที่กิจการเป็นเจ้าของ รวมทั้งส่วนที่เจ้าของนำมาลงทุน
3) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายถึงงบการเงินที่แสดงทั้งการเปลี่ยนแปลงของผู้เป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว จะประกอบด้วยบัญชีทุน และบัญชีเงินถอน
หากเป็นกิจการห้างหุ้นส่วน
จะประกอบด้วยบัญชีทุนและบัญชีเดินสะพัดของหุ้นส่วนแต่ละคน
ถ้าเป็นกิจการบริษัทจำกัด จะเรียกว่างบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของเจ้าของจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเพิ่มทุน ถอนทุน กำไร ขาดทุน
และแบ่งผลตอบแทนคืนแก่เจ้าของ และในทางปฏิบัติกิจการในรูปบริษัทอาจจะมีงบกำไร
(ขาดทุน) สะสมเพื่อแสดงรายละเอียดของการเพิ่มขึ้นและลดลงในระหว่างปีของกำไรสะสม
4) งบกระแสเงินสด หมายถึงงบการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดและรายการที่เทียบเท่าเงินสดของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
งบกระแสเงินสดจะแสดงเงินสดที่ได้รับและจ่ายออกไปที่เกิดขึ้นตาม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น