ขั้นตอนการบันทึกรายการค้า มีขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์รายการค้า
2. บันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป
3. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
4. จัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง
5. บันทึกรายการปรับปรุง
(ณ วันสิ้นงวด)
6. จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุง
7. จัดทำงบการเงิน
ขั้นตอนดังกล่าวจะเรียกว่า
“วงจรบัญชี” (Accounting
Cycle) จะมีเครื่องมือมาช่วยทำให้การบันทึกรายการปรับปรุงและการจัดทำงบการเงินสะดวกมากขึ้น
เรียกว่า “กระดาษทำการ” (Work Sheet)
ในวงจรบัญชีมีขั้นตอนเพิ่มเติม คือ
การปิดบัญชีและการจัดทำงบทดลองหลังปิดบัญชี
กระดาษทำการ
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดทำงบการเงินให้ง่ายขึ้น
กิจการจะจัดทำกระดาษทำการหรือไม่จัดทำก็ได้ แต่ถ้าจะทำ
ก็จะทำขึ้นหลังจากจบการจัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง
กระดาษทำการจะมีทั้งแบบที่เป็น 10 ช่อง และ 12 ช่อง
สำหรับกระดาษทำการ 10 ช่อง ประกอบด้วย 5 ช่องใหญ่ และในช่องใหญ่แต่ละช่องจะเป็น 2 ช่องเล็ก
คือ ช่องด้านเดบิต และช่องด้านเครดิต ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
1. งบทดลองก่อนปรับปรุง
2. รายการปรับปรุง
3. งบทดลองหลังปรับปรุง
4. งบกำไรขาดทุน
5. งบดุล
สำหรับกระดาษทำการแบบ 12 ช่อง จะเพิ่มช่องงบกำไรสะสม
ในการจัดทำกระดาษทำการสามารถอธิบายการจัดทำได้ดังนี้
1.เขียนชื่อกิจการ
บอกประเภทว่าเป็นกระดาษทำการและงวดบัญชีที่จัดทำ
2.ในช่องเลขที่บัญชี
ให้ใส่เลขบัญชีของรายการต่างๆ ตามชื่อบัญชี
3.ในช่องชื่อบัญชีให้ใส่ชื่อบัญชีที่เกี่ยวข้องโดยเริ่มจากรายการต่างๆ จากงบทดลองก่อนปรับปรุง ในช่องงบทดลองให้ใส่ชื่อบัญชีจากงบทดลองก่อนปรับปรุง
หายอดรวมด้านเดบิตและเครดิตซึ่งต้องเท่ากัน
4.ในช่องรายการปรับปรุง
ให้ใส่รายการที่จะปรับปรุง
ถ้าเป็นการบันทึกในชื่อบัญชีที่มีอยู่แล้วในงบทดลองก่อนปรับปรุงก็นำไปใส่ในช่องเดบิตหรือช่องเครดิตในบรรทัดเดียวกับชื่อบัญชีเดิมที่มีอยู่แล้ว
แต่หากไม่เคยมีชื่อบัญชีเดิมมาก่อนก็ให้เปิดชื่อบัญชีใหม่และใส่จำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง
ในช่องรายการปรับปรุงนั้นนิยมใส่เลขกำกับไว้บนจำนวนเงินด้วยเพื่อจะได้ใช้อ้างอิงในการอธิบายรายการ
โดยอธิบายไว้ข้างล่างกระดาษทำการ ซึ่งต้องใส่ทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต
เมื่อทำรายการปรับปรุงรายการทุกรายการแล้วก็จะหายอดคงเหลือรวมทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิตซึ่งต้องเท่ากัน
5. ในช่องงบทดลองหลังปรับปรุง
ให้หายอดคงเหลือของรายการทุกรายการ
6.ในช่องงบกำไรขาดทุน
ให้นำรายการที่เป็นรายการประเภทรายได้และค่าใช้จ่ายมาใส่ในช่องงบกำไรขาดทุนในบรรทัดเดียวกันเลย
ถ้ามีผลต่างแสดงว่ากิจการมีกำไรหรือขาดทุน
ยอดรวมด้านเดบิต >
ยอดรวมด้านเครดิต [ กิจการเกิดขาดทุนสุทธิ
ยอดรวมด้านเดบิต <
ยอดรวมด้านเครดิต [ กิจการเกิดกำไรสุทธิ
เมื่อหายอดรวมด้านเดบิตและเครดิตแล้วมีผลต่าง
ให้ใส่ผลต่างในช่องงบกำไรขาดทุน และช่องงบดุลด้านเครดิตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน
ในทางตรงกันข้าม ถ้ากรณีที่กิจการเกิดขาดทุน ยอดรวมด้านเดบิต > ยอดรวมด้านเครดิต
ให้นำผลต่างมาใส่ในช่องงบกำไรขาดทุนด้านเครดิต
และใส่ในช่องงบดุลด้านเดบิตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน
7.หลังจากนั้นหายอดรวมสุทธิด้านเดบิตและด้านเครดิตในช่องงบกำไรขาดทุน
ซึ่งจะต้องได้ยอดรวมเท่ากัน
8.ในช่องงบดุล
ให้นำรายการประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน
และส่วนของเจ้าของในช่องงบทดลองหลังปรับปรุงมาใส่ในช่องงบดุลในบรรทัดเดียวกัน
และหายอดรวมสุทธิด้านเดบิตและด้านเครดิตในช่องงบดุลจะเท่ากัน
เมื่อจัดทำกระดาษทำการเสร็จก็จัดทำงบการเงินตามลำดับ
คืองบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และงบดุล
เมื่อจัดทำงบการเงินจากกระดาษทำการเรียบร้อยแล้ว
จะเห็นว่ายอดกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในกระดาษทำการจะเท่ากับการจัดทำงบกำไรขาดทุน
แต่เมื่อพิจารณางบดุลแล้วจะพบว่า
ยอดรวมในกระดาษทำการจะไม่เท่ากับยอดในการจัดทำงบดุล
เนื่องจากมีหลายรายการที่ในช่องงบดุลในกระดาษทำการมียอดด้านเครดิต
แต่เมื่อนำเสนอในงบดุลนั้นจะแสดงเป็นยอดหักจากรายการสินทรัพย์ทางด้านเดบิต
ในวงจรบัญชีจะมีขั้นตอนหนึ่งที่จัดทำ คือการปิดบัญชี
โดยการปิดบัญชีนั้นจะเป็นการโอนยอดคงเหลือในบัญชีที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนไปยังบัญชีทุนของกิจการ
การปิดบัญชี
ประเภทของรายการบัญชี 5 ประเภท จะแบ่งบัญชีออกได้เป็น 2
ประเภท คือ
1. บัญชีชั่วคราว
เป็นบัญชีที่อยู่ในงบกำไรขาดทุน
แสดงการรวบรวมข้อมูลที่จะทำให้ผลการดำเนินงานของกิจการ รวมทั้งบัญชีเงินถอน
และบัญชีเงินปันผล
2. บัญชีถาวร
เป็นบัญชีที่อยู่ในงบดุลที่จะแสดงสถานะของกิจการ
เมื่อจัดทำกระดาษทำการแล้วก็จะทำการปิดบัญชีชั่วคราว จะทำให้บัญชีชั่วคราวประเภทรายได้
ค่าใช้จ่ายมียอดคงเหลือเป็นศูนย์ กล่าวคือ
บัญชีชั่วคราวจะไม่มียอดคงเหลือยกไปงวดหน้า
บัญชีชั่วคราวทุกบัญชีจะถูกปิดทั้งหมดในวันสิ้นงวดเพื่อโอนยอดคงเหลือสุทธิไปยังบัญชีทุนหรือบัญชีส่วนของเจ้าของ
ขั้นตอนในการปิดบัญชี
1. ปิดบัญชีรายได้และบัญชีค่าใช้จ่ายทุกบัญชีเข้าไปยังบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว เปิดเมื่อทำการปิดบัญชี ในวันสิ้นงวดเท่านั้น
และจะถูกปิดให้เป็นศูนย์ต่อไป
โดยบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนจะกำหนดเลขที่บัญชีในหมวดส่วนของเจ้าของ
2. การปิดบัญชีที่เกี่ยวกับรายได้ไปยังบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
จะบันทึกการปิดบัญชีดังนี้
เดบิต รายได้
xxx
เครดิต สรุปผลกำไรขาดทุน xxx
3. การปิดบัญชีที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายไปยังบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
จะบันทึกการปิดบัญชีดังนี้
เดบิต
สรุปผลกำไรขาดทุน xxx
เครดิต ค่าใช้จ่าย xxx
จะเห็นว่าบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนจะมียอดด้านเดบิตหรือด้านเครดิตก็ได้
ขึ้นอยู่กับว่ากิจการมียอดรายได้หรือค่าใช้จ่ายสูงกว่ากัน โดยจะสรุปได้ดังนี้
บัญชีรายได้ > บัญชีค่าใช้จ่าย
[เกิดกำไรสุทธิ [ บัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
มียอดคงเหลือด้านเครดิต
บัญชีรายได้ < บัญชีค่าใช้จ่าย [เกิดขาดสุทธิ [
บัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
มียอดคงเหลือด้านเดบิต
4. ปิดบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนเข้าไปยังบัญชีทุน
ถ้ากิจการเกิดกำไรสุทธิจะทำให้ส่วนทุนหรือส่วนของเจ้าของเพิ่มการโอนปิดบัญชีสรุปผลกำไรจะบันทึกดังนี้
เดบิต
สรุปผลกำไรขาดทุน xxx
เครดิต ทุนหรือกำไรสะสม xxx
ถ้ากิจการเดขาดทุนสุทธิจะทำให้ส่วนทุนหรือส่วนของเจ้าของลดลง
การโอนปิดบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนจะบันทึกดังนี้
เดบิต
ทุนหรือกำไรสะสม xxx
เครดิต สรุปผลกำไรขาดทุน xxx
การที่บันทึกเข้าบัญชีทุนหรือบัญชีกำไรสะสม
เมื่อปิดบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนขึ้นอยู่กับว่าเป็นกิจการประเภทใด
ถ้าเป็นประเภทเจ้าของคนเดียวจะโอนเข้าบัญชีทุน
ในกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจะโอนเข้าบัญชีกระแสทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนหากมีการแบ่งสรรเลย
แต่ในกรณีไม่แบ่งสรรก็จะโอนเข้าบัญชีกำไรสะสมเหมือนบริษัทจำกัด
5. ในกรณีกิจการมีบัญชีเงินถอน
หรือกิจการมีบัญชีเงินปันผล ก็ต้องปิดเข้าบัญชีทุนหรือบัญชีกำไรสะสม
โดยบัญชีเงินถอนและบัญชีเงินบันผลจะทำให้ทุนหรือส่วนของเจ้าของลดลง
ดังนั้นจะบันทึกดังนี้
เดบิต ทุน xxx
เครดิต เงินถอน
xxx
ในกรณีบริษัทจำกัดจะบันทึกปิดบัญชีเงินปันผลดังนี้
เดบิต กำไรสะสม xxx
เครดิต เงินปันผล xxx
ขั้นตอนการปิดบัญชีทั้งหมดจะทำในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปบัญชีแยกประเภท
โดยจะทำการบันทึกการปิดบัญชีในวันสิ้นงวด
โดยทุกบัญชีจะไปปิดอยู่ที่ส่วนทุนหรือส่วนของเจ้าของ
งบทดลองหลังปิดบัญชี
เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากบันทึกการปิดบัญชีและผ่านไปรายการแยกประเภท
โดยงบทดลองหลังปิดบัญชีจะแสดงเฉพาะรายการที่เป็นบัญชีถาวรเท่านั้น
โดยต้องมียอดคงเหลือเท่ากันทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต
บัญชีถาวรจะไม่ปิดบัญชี
เนื่องจากรายการต่างๆ
ของบัญชีถาวรนั้นจะยกยอดคงเหลือไปให้งวดหน้าตามหลักการทางบัญชีที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของกิจการ
กล่าวคือ กิจการจะดำเนินการไปตลอดไม่เลิกกิจการ
ดังนั้นรายการที่เกี่ยวกับบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของหรือทุน
จึงเป็นยอดที่จะโอนต่อให้งวดต่อไป จึงต้องมีการหายอดคงเหลือและยกไปให้งวดหน้า
ขั้นตอนการหายอดคงเหลือของบัญชีถาวรและการบันทึกยอดยกไปงวดหน้า
จะใช้สมุดบัญชีแยกประเภทที่เคยเปิดไว้เดิมมาบันทึกต่อ
ขั้นตอนการจัดทำการหายอดคงเหลือและการบันทึกยอดยกไปข้างหน้า ดังนี้
1. หายอดรวมทางด้านเดบิตและทางด้านเครดิต
แล้วนำยอดทั้ง 2 ด้าน
มาหักลบกันแล้วดูว่ายอดคงเหลืออยู่ด้านใด
โดยถ้ายอดรวมด้านเดบิตสูงกว่ายอดรวมด้านเครดิตแสดงว่ายอดดุลเดบิต
ในทางตรงกันข้ามถ้ายอดรวมด้านเครดิตสูงกว่ายอดรวมด้านเดบิตแสดงว่ายอดดุลเครดิต
ซึ่งโดยปกติบัญชีสินทรัพย์จะมียอดดุลด้านเดบิตและบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของจะมียอดดุลเครดิต
2. นำยอดที่หักลบกันแล้วจากข้อ
1 มาใส่ในบรรทัดต่อมาจากรายการสุดท้าย
โดยนำมาใส่ในด้านเดบิตหรือเครดิตที่มียอดรวมน้อย โดยใส่วันที่สุดท้ายของงวดนั้นและใช้อธิบายรายการว่า
“ยกไป” ในช่องอ้างอิงจะใช้เครื่องหมาย P
3. รวมยอดทางด้านเดบิตและเครดิตซึ่งต้องทำกันและเขียนยอดรวมไว้ทั้ง
2 ด้านแล้วขีดเส้นใต้ 2 เส้นตรงยอดรวม
4. ในงวดบัญชีต่อมา
จะเขียนยอดผลต่างที่ได้ที่นำไปเขียนเป็นยอดยกไปมาเขียนเป็น “ยอดยกมา”
ในด้านตรงกันข้ามกับยอดยกไปและใช้การอ้างอิงด้วย “P” เขียนคำอธิบายรายการด้วย “ยอดยกมา”
สมุดบัญชีทั้งสมุดรายวันทั่วไปและสมุดบัญชีแยกประเภทก็สามารถใช้ต่อไปในงวดถัดไปได้
แต่อย่างไรก็ตามถ้าในกรณีที่สมุดรายวันทั่วไปที่ใช้บันทึกรายการค้าในงวดก่อนหมดจำเป็นต้องใช้สมุดบัญชีเล่มใหม่นั้น
กิจการต้องทำการเปิดบัญชี
การเปิดบัญชี
จะทำการเปิดบัญชีประเภทสินทรัพย์หนี้สิน
และส่วนของเจ้าของ ที่มียอดยกไปงวดหน้า โดยจะบันทึกเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
โดยใช้วันที่ที่เริ่มงวดบัญชีใหม่เลยในการบันทึกรายการ
จากนั้นก็ผ่านบัญชีไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท
สรุป
จากขั้นตอนในวงจรบัญชีทั้งหมดสามารถสรุปวงจรบัญชีได้ดังนี้
1. วิเคราะห์รายการค้า
2. บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป
3. ผ่านรายการไปสมุดบัญชีแยกประเภท
4. หายอดคงเหลือเพื่อจัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง
5. จัดทำกระดาษทำการ
6. บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดในสมุดรายวันทั่วไป
7. ผ่านรายการปรับปรุงไปยังบัญชีแยกประเภท
8. หายอดคงเหลือเพื่อจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุง
9. จัดทำงบการเงิน
10. ปิดบัญชีชั่วคราว
11. จัดทำงบทดลองหลังปิดบัญชี
12. กลับรายการ (ถ้ากิจการจะกลับรายการ)
13. เปิดบัญชี (ถ้าสมุดบัญชีหมดต้องขึ้นเล่มใหม่)
Borgata's $2.6 billion casino hotel opens to public on New Year's Eve
ตอบลบBorgata Hotel & 동해 출장안마 Casino, in partnership with The Star, 경상남도 출장마사지 opened its hotel tower to 성남 출장마사지 the 광양 출장마사지 public on New Year's Eve, welcoming guests with 서산 출장마사지 a